วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ไวรัสคอมพิวเตอร์
ไวรัสคอมพิวเตอร์(computer virus) หรือเรียกสั้นๆว่า ไวรัส คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บุกรุกเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้ ส่วนมากมักจะพัฒนาขึ้นเพื่อสร้างความเสียหายให้กับระบบของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ ซึ่งไวรัสแบ่งออกเป็น6ประเภท ดังนี้
1.ไวรัสพาราสิต (parasitic virus)  ไวรัสประเภทนี้จะเริ่มทำงานและจำลองตัวเองเมื่อมีการเรียกใช้งานไฟล์ที่ติดไวรัส  ไวรัสคอมพิวเตอร์โดยส่วนมากจะเป็นประเภทนี้
2.ไวรัสบูตเซกเตอร์(boot sector virus ) ไวรัสประเภทนี้จะฝังตัวลงไปในบูตเซกเตอร์  แทนที่คำสั่งที่ใช้ในการเริ่มต้มการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นใช้งาน ไวรัสประเภทนี้จะโหลดตัวเองเข้าไปที่หน่วยความจำก่อนที่จะโหลดระบบปฏิบัติการ หลังจากนั้นจะสำเนาตัวเองไปฝังอยู่กับไฟล์อื่นๆด้วย
3.ไวรัสสเตลท์(stealth virus) ไวรัสประเภทนี้เป็นไวรัสที่มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงตัวเองให้อยู่ในรูปแบบที่โปรแกรมป้องกันไวรัสต่างๆ ตรวจไม่พบ และเมื่อไปติดกับโปรแกรมใดแล้วจะทำให้โปรแกรมนั้นมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
4.ไวรัสโพลีมอร์ฟิก(macro virus) ไวรัสประเภทนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงตัวเองทุกครั้งที่ติดต่อไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะส่งผลทำให้ไวรัสประเภทนี้ตรวจพบได้ยาก
5.ไวรัสแมโคร(macro virus) ไวรัสประเภทนี้จะมีผลกับ Macro Application (มักจะพบในโปรแกรมประเภท Word Processors ) เมื่อผู้ใช้เรียกใช้ไฟล์ที่มีไวรัสติดมาด้วย จะทำให้ไวรัสไปฝังตัวอยู่ที่หน่วยความจำจนเต็มซึ่งจะทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์ช้าลง และอาจส่งผลเสียกับข้อมูลที่เก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์ได้
6.หนอนอินเทอร์เน็ต(worm) เป็นไวรัสคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งที่จะติดต่อกันได้ทางอินเทอร์เน็ตสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว โดยไวรัสชนิดนี้จะคัดลอกตัวเองซ้ำแล้วใช้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการแพร่กระจายซึ่งโดยทั่วไปจะมากับอีเมล  ตัวอย่างของหนอนอินเทอร์เน็ต คือ Adore โดยจะทำการค้นหาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฏิบัติการ Linux หลังจากนั้นจะสร้างช่องทางในคอมพิวเตอร์เพื่อให้แฮกเกอร์ (hacker) สามารถเข้าไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นได้

ที่มา: หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สู้เพื่อเเม่

  สู้เพื่อเเม่
   เเม่คือผู้กำเนิดเรา อุ้มท้องเรามาตั้ง9เดือน เเม่ทนเหนื่อยมากมายเพื่อเรา เวลาเราไม่สบายเเม่ก็คอยหายามาให้เรากินเเม่ก็ค่อยป้อนยาให้เราา ค่อยอาบน้ำเช้ดตัวให้เรา พระคุรของเเม่นั้นไม่สามารถทดเเทนได้หมด ไม่มีเเม่คนไหนที่ไม่รักลูกตัวเอง เเม่ทนเหนื่อย ทำงานหนักเพื่อหาเงินมาให้เราได้สิ่งที่ต้องการ ตั้งเเต่เล็กจนโตเเม่เฝ้าสอนให้พวกเราทุกคนเป้นคนดี เเม่ให้ความรักอย่างจริงใจเเม้ว่าเราจะทำผิดจนนับไม่ถ้วนเเม่ก้ยังให้อภัยเราเสมอ ให้รอยยิ้มที่จริงใจทั้งๆที่เเม่ก็ต้องเสียน้ำตาให้กับความผิดของเราไม่ว่าจะกี่ครั้งก็ตาม ไม่ว่าจะร้ายเเรงเพียงใดเเม่ก้พร้อมจะอ้าเเขนกอดเราด้วยความรักเสมอมา ในวันที่เราประสบความสำเร้จทางด้านการเรียนหรือการงาน ก็ตามเเต่ เราได้มีโอกาสตอบเเทนพระคุณเเม่เเม้มันอาจเป็นเพียงสิ่งเล้กไม่เท่ากับสิ่งที่เเม่เลี้ยงดูเรามา ดังนั้นคำว่า เเม่ เป็นคำที่ศักดิ์สิทธิ์ สูงที่สุด เเม่เปรียบเสมือนพระองค์เเรกของบ้าน ที่คอยเฝ้าตักเตือนให้เราทำสิ่งที่ถุกสิ่งที่ควร สอนให้เราทำเเก่ความดี การที่เราทดเเทนพระคุรนั้นเป็นสิ่งที่ดีเปรียบเสมือน "ต้นไม้ที่ได้รับการดูแลให้น้ำให้ปุ๋ยไปบำรุงลำต้นจนสมบูรณ์ เมื่อถึงเวลา ไม่ยอมออกดอกออกผล ก็ต้องโค่นทิ้งคนที่ได้รับการเลี้ยงดูจนเติบใหญ่ แต่ไม่ยอมตอบแทนคุณพ่อแม่ก็เป็นคนหนักแผ่นดินทองคำ แท้หรือไม่โดนไฟก็รู้ คนดีแแท้หรือไม่ให้ดูตรงที่เลี้ยงพ่อแม่ ถ้าดีจริงต้องเลี้ยงพ่อแม่ ถ้าไม่เลี้ยง แสดงว่าดีไม่จริง เป็นพวกทองชุบ ทองเก๊" เเม่เป้นทั้งเพื่อน ทั้งพี่ เป็นทั้งคนที่คอยให้กำลังใจเราในยามที่เราท้อเจออุปสรรคก้คอยให้คำปรึกษาเราในเรื่องต่างๆให้กับเรา การที่เราได้เกิดเป้นลุกเเม่นั้นเป้นสิ่งที่เราประทับใจที่สุด เเละการที่เเม่ให้ความรัก ความอบอุ่น เรามาจนถึงทุกวันนี้ก้ทำให้เรามีความสุขถึงเป้นเพียงความสุขเล็กๆน้อยๆเเต่มันเป็นสิ่งที่มีคุรค่ามากสำหรับลุกคนนี้ที่ได้เกิดเป็นลูกเเม่ อาจจะไม่มีคุรค่าสำหรับคนอื่นเเต่คำว่าเเม่นั้นมีคุณค่าสำหรับหนูมากมาก สุดท้ายนี้หนูอยากบอกเเม่ว่า  "หนูรักเเม่"  

วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

งานปลูกผักของฉัน

วันนี้อาจารย์คอมพิวเตอร์นัดส่งงานเกี่ยวกับการปลูกผัก  เเละฉันก็ได้นำงานมาส่งเเต่อาจจะไม่ค่อยดูดีนักเท่าไหร่อาจารย์ให้ปลูกผักอะไรก็ได้โดยถ่ายรูปดูการเจริญเติบโต เเต่งานออกมาดูไม่ดีอาจารย์จึงให้ฉันเเละเพื่อนๆที่นำงานมาส่งนั้นเป่าจิ้งหรีดจำนวน6รอบ  ฉันนั้นได้ปลูกตะไคร้ โดยวันเเรกฉันนำตะไคร้มาเเช่น้ำ เเละวันต่อมาตะไคร้นั้นก็เริ่มมีการเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆเเละเเตกหน่อ

วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เครือข่ายคอมพิวเตอร์

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก (อังกฤษcomputer network; ศัพท์บัญญัติว่า ข่ายงานคอมพิวเตอร์) คือเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคมระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆในเครือข่าย (โหนดเครือข่าย) จะใช้สื่อที่เป็นสายเคเบิลหรือสื่อไร้สาย เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันดีคือ อินเทอร์เน็ต
การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกัน เพื่อเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น และลดต้นทุนของระบบโดยรวมลง
การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันในเครือข่าย ทำให้ระบบมีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น การแบ่งการใช้ทรัพยากร เช่น หน่วยประมวลผลหน่วยความจำ,หน่วยจัดเก็บข้อมูลโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีราคาแพงและไม่สามารถจัดหามาให้ทุกคนได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดภาพ (scanner) ทำให้ลดต้นทุนของระบบลงได้
อุปกรณ์เครือข่ายที่สร้างข้อมูล, ส่งมาตามเส้นทางและบรรจบข้อมูลจะเรียกว่าโหนดเครือข่าย. โหนดประกอบด้วยโฮสต์เช่นเซิร์ฟเวอร์, คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและฮาร์ดแวร์ของระบบเครือข่าย อุปกรณ์สองตัวจะกล่าวว่าเป็นเครือข่ายได้ก็ต่อเมื่อกระบวนการในเครื่องหนึ่งสามารถที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลกับกระบวนการในอีกอุปกรณ์หนึ่งได้
เครือข่ายจะสนับสนุนแอปพลิเคชันเช่นการเข้าถึงเวิลด์ไวด์เว็บ, การใช้งานร่วมกันของแอปพลิเคชัน, การใช้เซิร์ฟเวอร์สำหรับเก็บข้อมูลร่วมกัน, การใช้เครื่องพิมพ์และเครื่องแฟ็กซ์ร่วมกันและการใช้อีเมลและโปรแกรมส่งข้อความโต้ตอบแบบทันทีร่วมกัน

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

รายการหอมแผ่นดิน ตอน เศรษฐกิจพอใจ

รายการหอมแผ่นดิน ตอน เศรษฐกิจพอใจ

แม่คำตา โสนะชัย เกษตรกรทำสวนขจร บ้านดอนเรือ ต.ดอนโอง อ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด มีชีวิตธรรมดาๆไม่ต่างจากชาวบ้านในชนบททั่­วไปที่มีอาชีพรับจ้างและปลูกผักขายจนกระทั­่งวันที่ลูกชายถือต้นขจรเข้าบ้าน จากวันนั้นถึงวันนี้ชีวิตของคำตาและครอบ-ครัวเปลี่ยนไปเมื่อได้พบกับคำว่าเศรษฐกิจพอใ­จ


ที่มา :  https://www.youtube.com/watch?v=HQ4OQdAGXTo

หอมแผ่นดิน ตอน ผืนดินทองคำ

จากอดีตครู ที่ต้องกลับไปทำอาชีพเกษตรกร อาชีพที่ไม่อยากจะทำ แต่เมื่อต้องมาแล้ว ดวงทิพย์ สายโสภา จึงลงมือทำมันอย่างตั้งใจ เธอและสามีช่วยกันพลิกผืนดิน ที่อ.เขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ให้มีคุณค่า เธอยังทดลองนำ พริกไทย พืชที่ไม่ค่อยมีคนปลูกบนเขาค้อ

ที่มา:https://www.youtube.com/watch?v=nSRWPjhHE5w

หอมแผ่นดิน ตอน...เพาะรักงอกงาม

หอมแผ่นดิน ตอน เพาะรักงอกงาม ออกอากาศวันอาทิตย์ที่ 2 พ.ย.2557เรื่องราวของคุณนิมิตร์ เทียมมงคล เกษตรกรหัวใจงอกงาม กัลการปลูกถั่วงอกตัดรากเพื่อหลีกเลี่ยงกา­รใช้สารเคมี และได้ต้นถั่วงอกที่ต้นน่ารับประทานแบบปลอ­ดภัยต่อสุขภาพ โดยการเพาะถั่วงอกตัดรากแบบคอนโดสี่ชั้น


ที่มา:https://www.youtube.com/watch?v=anD_4rLOy-U

วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา[1][2] และถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ [3]
เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทต่อการกำหนดอุดมการณ์การพัฒนาของประเทศ[ต้องการอ้างอิง] โดยปัญญาชนในสังคมไทยหลายท่านได้ร่วมแสดงความคิดเห็น อย่างเช่น ศ.นพ.ประเวศ วะสีศ.เสน่ห์ จามริกศ.อภิชัย พันธเสน, และศ.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา โดยเชื่อมโยงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับวัฒนธรรมชุมชน ซึ่งเคยถูกเสนอมาก่อนหน้าโดยองค์กรนอกภาครัฐจำนวนหนึ่งนับตั้งแต่พุทธทศวรรษ 2520 และได้ช่วยให้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในสังคมไทย
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจและสาขาอื่น ๆ มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรองพระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9[3][4] และได้จัดทำเป็นบทความเรื่อง "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" และได้นำความกราบบังคลทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2542 โดยทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทานและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำบทความที่ทรงแก้ไขแล้วไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ได้รับการเชิดชูจากองค์การสหประชาชาติ ว่าเป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ[5] และสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน[6] โดยมีนักวิชาการและนักเศรษฐศาสตร์หลายคนเห็นด้วยกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง แต่ในขณะเดียวกัน บางสื่อตั้งคำถามถึงการยกย่องขององค์การสหประชาชาติ รวมทั้งความน่าเชื่อถือของรายงานศึกษาและท่าทีขององค์การ

หลักปรัชญา[แก้]

...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมีพอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นอันพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป หากมุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด...
— พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2517[1]
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ยึดหลักทางสายกลาง ที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับให้ดำเนินไปในทางสายกลาง มีความพอเพียง และมีความพร้อมที่จะจัดการต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะต้องอาศัยความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน ทั้งนี้ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นการดำเนินชีวิตอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อให้สามารถอยู่ได้แม้ในโลกโลกาภิวัตน์ที่มีการแข่งขันสูงปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ทรงปรับปรุงพระราชทานเป็นที่มาของนิยาม "3 ห่วง 2 เงื่อนไข" ที่คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำมาใช้ในการรณรงค์เผยแพร่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผ่านช่องทางสื่อต่าง ๆ อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยความ "พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน" บนเงื่อนไข "ความรู้" และ "คุณธรรม"
ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง อธิบายถึงการพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ว่า เป็นการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวตลอดจนการใช้ความรู้ ความรอบคอบละคุณธรรมประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำต่าง ๆ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่พอประมาณ ความมีเหตุผล หมายถึง การใช้หลักเหตุผลในการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ การมีภูมิคุ้มกันที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงรอบตัว ปัจจัยเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องอาศัยความรู้ และคุณธรรม เป็นเงื่อนไขพื้นฐาน กล่าวคือ เงื่อนไขความรู้ หมายถึง ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังในการดำเนินชีวิตและการประกอบการงาน ส่วนเงื่อนไขคุณธรรม คือ การยึดถือคุณธรรมต่าง ๆ อาทิ ความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน ความเพียร การมุ่งต่อประโยชน์ส่วนรวมและการแบ่งปัน ฯลฯ ตลอดเวลาที่ประยุกต์ใช้ปรัชญา[7]
อภิชัย พันธเสน ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม ได้จัดแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงว่าเป็น "ข้อเสนอในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามแนวทางของพุทธธรรมอย่างแท้จริง" ทั้งนี้เนื่องจากในพระราชดำรัสหนึ่ง ได้ให้คำอธิบายถึง เศรษฐกิจพอเพียง ว่า "คือความพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภมาก และต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่น"[8]
ระบบเศรษฐกิจพอเพียงมุ่งเน้นให้บุคคลสามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน และใช้จ่ายเงินให้ได้มาอย่างพอเพียงและประหยัด ตามกำลังของเงินของบุคคลนั้น โดยปราศจากการกู้หนี้ยืมสิน และถ้ามีเงินเหลือ ก็แบ่งเก็บออมไว้บางส่วน ช่วยเหลือผู้อื่นบางส่วน และอาจจะใช้จ่ายมาเพื่อปัจจัยเสริมอีกบางส่วน สาเหตุที่แนวทางการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง ได้ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในขณะนี้ เพราะสภาพการดำรงชีวิตของสังคมทุนนิยมในปัจจุบันได้ถูกปลูกฝัง สร้าง หรือกระตุ้น ให้เกิดการใช้จ่ายอย่างเกินตัว ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องหรือเกินกว่าปัจจัยในการดำรงชีวิต เช่น การบริโภคเกินตัว ความบันเทิงหลากหลายรูปแบบ ความสวยความงาม การแต่งตัวตามแฟชั่น การพนันหรือเสี่ยงโชค เป็นต้น จนทำให้ไม่มีเงินเพียงพอเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านั้น ส่งผลให้เกิดการกู้หนี้ยืมสิน เกิดเป็นวัฏจักรที่บุคคลหนึ่งไม่สามารถหลุดออกมาได้ ถ้าไม่เปลี่ยนแนวทางในการดำรงชีวิต
ซึ่ง ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล ได้กล่าวว่า "หลาย ๆ คนกลับมาใช้ชีวิตอย่างคนจน ซึ่งเป็นการปรับตัวเข้าสู่คุณภาพ"[9] และ "การลงมือทำด้วยความมีเหตุมีผล เป็นคุณค่าของเศรษฐกิจพอเพียง"[10]

การนำไปใช้[แก้]

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ถูกใช้เป็นกรอบแนวความคิดและทิศทางการพัฒนาระบบเศรษฐกิจมหภาคของไทย ซึ่งบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่สมดุล ยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกัน เพื่อความอยู่ดีมีสุข มุ่งสู่สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน หรือที่เรียกว่า "สังคมสีเขียว" ด้วยหลักการดังกล่าว แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 นี้จะไม่เน้นเรื่องตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ยังคงให้ความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจแบบทวิลักษณ์ หรือระบบเศรษฐกิจที่มีความแตกต่างกันระหว่างเศรษฐกิจชุมชนเมืองและชนบท[11]
แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงยังถูกบรรจุในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ในส่วนที่ 3 แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน มาตรา 78 (1) ความว่า: "บริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคง ของประเทศอย่างยั่งยืน โดยต้องส่งเสริมการดำเนินการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติในภาพรวมเป็นสำคัญ"
สุรเกียรติ เสถียรไทย ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ กล่าวเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ในการประชุมสุดยอด The Francophonie Ouagadougou ครั้งที่ 10 ที่ประเทศบูร์กินาฟาโซ ว่าประเทศไทยได้ยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงควบคู่กับ "การพัฒนาแบบยั่งยืน" ในการพัฒนาประเทศทั้งทางด้านการเกษตรกรรม เศรษฐกิจ และการแข่งขัน ซึ่งเป็นการสอดคล้องเป้าหมายแนวทางของนานาชาติในประชาคมโลก โดยยกตัวอย่างการแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 ซึ่งเมื่อยึดหลักปรัชญาในการแก้ปัญหาสามารถทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ของไทยเติบโตได้ถึงร้อยละ 6.7[12]
นอกจากเศรษฐกิจพอเพียงจะมีประโยชน์ต่อประเทศไทย ทั้งยังมีความสำคัญต่อการพัฒนาในต่างประเทศ การประยุกต์นำหลักปรัชญาเพื่อนำไปพัฒนาประเทศในต่างประเทศเหล่านั้น ประเทศไทยได้เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนผ่านทางสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ โดยมีหน้าที่คอยประสานงานรับความช่วยเหลือทางวิชาการด้านต่าง ๆ จากต่างประเทศมาสู่ภาครัฐ แล้วถ่ายทอดต่อไปยังภาคประชาชน และยังส่งผ่านความรู้ที่มีไปยังประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น สำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศได้ถ่ายทอดมาไม่ต่ำกว่า 5 ปี และประสานกับสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งต่างชาติก็สนใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เพราะพิสูจน์แล้วว่าเป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ ซึ่งแต่ละประเทศมีความต้องการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับวิถีชีวิต สภาพภูมิศาสตร์ของแต่ละประเทศ โดยได้ให้ผู้แทนจากประเทศเหล่านี้ได้มาดูงานในหลายระดับ ทั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน เจ้าหน้าที่ฝ่ายนโยบาย จนถึงระดับปลัดกระทรวง และรัฐมนตรีประจำกระทรวงต่าง ๆ [13]
นอกจากนั้นอดิเทพ ภาณุพงศ์ เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ได้กล่าวว่า ต่างชาติสนใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง[13] เนื่องจากมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงห่วงใยราษฎรของพระองค์ และทราบสาเหตุที่รัฐบาลไทยนำมาเป็นนโยบาย ส่วนประเทศพัฒนาแล้วก็ต้องการศึกษาเพื่อนำไปช่วยเหลือประเทศอื่น
ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล ได้กล่าวถึงผลสำเร็จอย่างหนึ่งของเศรษฐกิจพอเพียงโดยองค์การสหประชาชาติ คือ "สหประชาชาติเห็นด้วยกับพระมหากษัตริย์ในเรื่องนี้ [เศรษฐกิจพอเพียง] โดยเริ่มใช้มาตรวัดคุณภาพชีวิตในการวัดความเจริญของแต่ละประเทศ แทนอัตราผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ซึ่งกล่าวถึงแต่ความเจริญทางเศรษฐกิจเท่านั้น"[9]
th.wikipedia.org/wiki/เศรษฐกิจพอเพียง

วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ซอฟเเวร์อะไร?




ซอฟท์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์
เมื่อมนุษย์ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงาน มนุษย์จะต้องบอกขั้นตอนวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทราบ การที่บอกสิ่งที่มนุษย์เข้าใจให้คอมพิวเตอร์รับรู้ และทำงานได้อย่างถูกต้อง จำเป็นต้องมีสื่อกลาง ถ้าเปรียบเทียบกับชีวิตประจำวันแล้ว เรามีภาษาที่ใช้ในการติดต่อซึ่งกันและกัน เช่นเดียวกันถ้ามนุษย์ต้องการจะถ่ายทอดความต้องการให้คอมพิวเตอร์รับรู้และปฏิบัติตาม จะต้องมีสื่อกลางสำหรับการติดต่อเพื่อให้คอมพิวเตอร์รับรู้ เราเรียกสื่อกลางนี้ว่าภาษาคอมพิวเตอร์
เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณทางไฟฟ้า ใช้แทนด้วยตัวเลข 0 และ 1 ได้ ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ใช้ตัวเลข 0 และ 1 นี้เป็นรหัสแทนคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ รหัสแทนข้อมูลและคำสั่งโดยใช้ระบบเลขฐานสองนี้ คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เราเรียกเลขฐานสองที่ประกอบกันเป็นชุดคำสั่งและใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ว่าภาษาเครื่อ
การใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้คอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันที แต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมาก เพราะเข้าใจและจดจำได้ยาก จึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่เป็นตัวอักษร เป็นประโยคข้อความ ภาษาในลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง ภาษาระดับสูงมีอยู่มากมาย บางภาษามีความเหมาะสมกับการใช้สั่งงานการคำนวณทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ บางภาษามีความเหมาะสมไว้ใช้สั่งงานทางด้านการจัดการข้อมูล
ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ดังนั้นจึงมีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับแปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง โปรแกรมที่ใช้แปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเรียกว่า คอมไพเลอร์ (compiler) หรืออินเทอร์พรีเตอร์ (interpreter)
คอมไพเลอร์จะทำการแปลโปรแกรมที่เขียนเป็นภาษาระดับสูงทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องก่อน แล้วจึงให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามภาษาเครื่องนั้น
ส่วนอินเทอร์พรีเตอร์จะทำการแปลทีละคำสั่ง แล้วให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งนั้น เมื่อทำเสร็จแล้วจึงมาทำการแปลคำสั่งลำดับต่อไป ข้อแตกต่างระหว่างคอมไพเลอร์กับอินเทอร์พรีเตอร์จึงอยู่ที่การแปลทั้งโปรแกรมหรือแปลทีละคำสั่ง ตัวแปลภาษาที่รู้จักกันดี เช่น ตัวแปลภาษาเบสิก ตัวแปลภาษาโคบอล
ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์จึงเป็นส่วนสำคัญที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้ดำเนินการตามแนวความคิดที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว คอมพิวเตอร์ต้องทำงานตามโปรแกรมเท่านั้น ไม่สามารถทำงานที่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในโปรแกรม